Tuesday, October 9, 2012

เทคโนโลยีเกี่ยวกับสีทาบ้าน

สีทาบ้าน

สีทาบ้าน
ภาพประกอบบทความ "สีทาบ้าน" เทคโนโลยีเกี่ยวกับสีทาบ้าน

“สีทาบ้าน” เทคโนโลยีเกี่ยวกับสีทาบ้าน

สีทาบ้าน ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีความทันสมัย เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ได้แก่ สีทาบ้านที่ มีส่วนประกอบของ “นาโนไทเทเนียม” ที่มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดตัวเอง หรือสามารถฆ่าเชื้อโรคไปในตัวได้ ลดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งปกติแล้ว สีทาบ้านที่มีอยู่ในร้านขายสีทาบ้าน หรือบริษัทจำหน่ายสีทาบ้านนั้น จะมีส่วนผสมของอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซต์อยู่แล้ว ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้สีทาบ้านมีความขาวสว่างขึ้น ซึ่งสีทาบ้านที่น่าสนใจ ได้แก่ สีทาบ้านทีโอเอ (TOA) สีทาบ้านเบเยอร์ (Bayer) เป็นต้น นอกจากจะใช้ภายในอาคารแล้ว สีทาบ้านยังสามารถใช้กับอาคารภายนอกได้ด้วย เพราะสามารถทนต่อสภาวะอากาศ และมลพิษฝุ่นควันต่างๆ ได้ดี
สีทาบ้าน
ภาพประกอบบทความ "สีทาบ้าน" การเลือกใช้สีทาบ้านให้เหมาะสม

“สีทาบ้าน” การเลือกใช้สีทาบ้านให้เหมาะสม

การเลือกใช้สีทาบ้าน ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับประเภทของสีทาบ้านที่มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่สีทาบ้าน แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน รวมทั้งราคาสีทาบ้านที่แตกต่างกันด้วย ลักษณะการใช้งานสีทาบ้านที่ไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องพิจารณาความต้องการสีทาบ้านที่มีคุณภาพและตรงกับการใช้งานมากที่สุด ดังนี้
1. สีทาบ้านภายนอกอาคาร มีคุณสมบัติเด่นที่มีความสวยงาม ทนทาน สามารถทนได้ต่อสภาวะอากาศทุกประเภท
2. สีทาบ้านภายในอาคาร มีคุณสมบัติที่ไม่ทนทานต่อแสงแดด หรือสภาพอากาศ
3. สีทาบ้านรองพื้น มีคุณสมบัติในการยึดเกาะ ให้การจับตัวของสีทาบ้านดี
สีทาบ้าน
ภาพประกอบบทความ "สีทาบ้าน" ชนิดของสีทาบ้าน

“สีทาบ้าน” ชนิดของสีทาบ้าน

สีทาบ้าน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สีทาบ้านพลาสติก หรือสีทาบ้านแบบอะครีลิค และสีทาบ้านแบบเคลือบเงา ซึ่งสีทาบ้านแบบอะครีลิคนี้ มีคุณสมบัติที่ทำให้เจือจางได้โดยการใช้น้ำเป็นตัวผสม เมื่อสีทาบ้านแห้งจะไม่มีการหลุดล่อน เหมาะสำหรับการใช้ทาพื้นปูนและพื้นคอนกรีตทั่วไป ส่วนสีทาบ้านแบบเคลือบเงานั้น สามารถทำให้เจือจางโดยการใช้ทินเนอร์หรือน้ำมันเป็นตัวผสม เหมาะสำหรับนำใช้ในงานโลหะหรืองานไม้ที่ต้องการความเงางาม แต่ไม่สามารถนำไปทาพื้นปูนได้ เพราะสีทาบ้านชนิดนี้ จะไม่ติดพื้นปูน หรือหากนำมาทาจะทำให้หลุดออกได้ง่าย สีทาบ้านทั้งสองชนิดนี้ สามารถนำมาใช้งานได้ทั้งภายนอกและภายในตัวอาคาร โดยคุณภาพและความคงทนของสีนั้นมีอยู่หลายเกรดด้วยกัน ซึ่งอายุการใช้งานของสีทาบ้านนั้นก็ขึ้นอยู่กับเกรดของสี และราคาสีทาบ้านจะลดลงมาเมื่อเกรดของสีลดลงไปตามความต้องการ

เทคนิคการเลือกสีทาบ้าน

เทคนิคการเลือกสีทาบ้าน  

 
เทคนิคการเลือกสีทาบ้าน
เทคนิคการเลือกสีทาบ้าน

ประเภทของสีทาบ้าน

แบ่งตามพื้นผิวของวัสดุที่จะทาสีดังนี้

1. สีน้ำอะครีลิค หรือ สีน้ำพลาสติก เป็นสีที่ใช้ทาผนังปูนหรือ คอนกรีต ผ้าเพดาน ที่ทั้งประเภทที่ใช้ทาภายนอก และทาภายใน โดยสีสำหรับทาภายนอกจะมีราคาสูงกว่าสีทาภายใน แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า
2. สีน้ำมัน เป็นสีที่ใช้สำหรับทาเหล็ก และไม้
3. สีย้อมไม้ เป็ฯสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ทำให้เนื้อไม้มีสีที่เราต้องการ
4. สีเคลือบไม้ เป็นสีที่ใช้ทาพวกไม้ต่างๆ ให้เห็นลายธรรมชาติของไม้ เช่น พวกเล็คเกรอ์ เชลแล็ก เป็นพวกรักษาเนื้ือไม้
5. สีกันสนิม  เป็นสีที่ใช้ทาเหล็ก จะทารองพื้นเพื่อกันสนิมก่อนทาสีจริง
6. สีรองพื้นผิวปูนใหม่หรือ ผิวปูนใหม่ หรือผิวปูนเก่า เป็นสีที่ใช้สำหรับเตรียมพื้นผิว ลดความเป็นกรด หรือด่างของผิวปูน ทำให้การยึดเกาะเมื่อทำการทาสีจริง หรือสีทับหน้าดียิ่งขึ้น

ส่วนประกอบของสีทาบ้าน

โดยทั่วไปจะประกอบด้วย

1. สารยึดเกาะหรือ อะครีบิคซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสี
2. ผงสีซึ่งจะทำให้เกิดความสวยงาม
3. ตัวทำละลายซึ่งจะเป็นตัวทำละลายทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. สารปรุงแต่งต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพสี เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อรา

เกรด หรือคุณภาพของสีทาบ้าน

โดยทั่วไปจะแบ่งเกรด หรือคุณภาพของสีดังต่อไปนี้

เกรด A เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางยุโรป การรับประกันจะอยู่ประมาณ 5-10 ปี มักใช้ทาภายนอก โดยเฉพาะอาคารสูง หรือบ้านที่มีราคาแพง
เกรด B เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางแถบเอเซีย การรับประกันะอยู่ประมาณ 3 -5 ปี มักใช้ทาภายนอก หรือ ภายใน
เกรด  C เป็นสีที่การผสมสารปรุงแต่ง 30% และมีอะครีลิค  70%  การรับประกันจะอยูที่ประมาณ 1 – 2 ปี มักใช้ทั้งทาภายนอก และภายใน
เกรด  D จะเป็นสีที่มีการผสมสารปรุงแต่งมากกว่า 30%


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Rasa Property Development

เรื่องน่ารู้ การเลือกสีทาบ้าน

สีทาบ้าน

เรื่องน่ารู้ การเลือกสีทาบ้าน

+-+ สีทาบ้าน อาจเรียกได้ว่า เป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกรสนิยมของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี สีแต่ละสี ย่อมให้ความหมาย ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป สีโทนเย็น ให้ความรู้สึกสงบเย็น ผ่อนคลาย ดูแล้วสบายตา มีความเป็นอิสระ เช่น สีขาวอมฟ้า สีม่วง สีเขียว และน้ำเงิน ในส่วนของสีโทนร้อนหรือโทนอุ่นนั้น จะให้ความรู้สึกที่สดใส รู้สึกตื่นตัวกระฉับกระแฉง กระตือรือร้น มีชีวิตชีวา เช่น สีส้ม สีแดง สีขามอมเหลือง

โทนสีและผลของ ความรู้สึก

ความรู้สึก ในการมองสีแต่ละสี ย่อมไม่เหมือนกัน สีดำ ให้ความรู้สึก เข้มแข็ง ดูทันสมัย มักนิยมใช้เป็นสีพื้น เพราะสามารถทำให้สีอื่นๆ ที่ร่วมด้วย ดูโดดเด่นชัดขึ้น แต่ทั้งนี้ สีดำปกติแล้ว ไม่นิยมนำมาใช้เป็นสีทาบ้าน แต่อาจใช้เป็นสีพื้นของเฟอร์นิเจอร์แทน หากเป็นสีทาภายในแล้วหละก็ โทนดำๆ เทาๆ อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกหดหู่ได้
สีน้ำตาล เป็นสีออกแนวธรรมชาติ ซึ่งดูอบอุ่นสวยงาม สามารถนำมาใช้ได้กับทุกห้องครับ หากเป็น สีเขียวก็เช่นเดียวกัน ปกติจะหมายถึงสัญลักษณ์ของธรรมชาติอยู่แล้ว การทาสีบ้าน สีน้ำตาลและเขียว เปรียบเสมือนต้นไม้ใบหญ้า ส่งผลให้ผ่อนคลายสภาพจิตใจก็ดีไปด้วย เหมาะมากๆ กับการทาสีบ้าน ทาสีห้องนอน หรือห้องอื่นๆก็ได้
สีน้ำเงิน หรือจะเป็นโทนสีฟ้า สีนี้ทำให้ดูสดใส ร่าเริง เบิกบาน สบายตา ข้อดีคือทำให้ห้องดูกว้างและมีชีวิตชีวา เหมาะกับ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ หรือห้องทั่วๆไปแล้วแต่ความชอบส่วนตัว

โครงสี ขั้นตอนการกำหนด

โครงสี นั่นหมายถึง สีหลักที่จะใช้ทาบ้าน เช่น ทาสีผนังบ้าน พื้น เพดาน พรม โดยทั่วไปแล้ว มักนิยมใช้เพียงแค่ประมาณ 3-4 สี โดยให้เป็นสีต่างกันแต่โทนเดียวกัน เพื่อความกลมกลืน ทั้งนี้ บ้านที่มีสีกลมกลืนกัน ยังถูกต้องตามหลักตำราฮวงจุ้ยจีนอีกด้วย ทำให้ผู้ร่วมอาศัยรักและกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียว โดยจะมีขั้นตอนการเลือกกำหนดโครงสีดังนี้
  • เลือกสีหลัก หมายถึง สีที่ใช้สำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้อง เช่น สีทาพื้นเพดาน ฝาผนัง โดยต้องกำหนดสีที่โดนใจมาก่อนสักหนึ่งสี แล้วจึงเลือกระดับสีอ่อนเข้ม หากอ่อน ก็จะช่วยหลอกตาให้ห้องดูกว้างขึ้นได้
  • เลือกสีรอง หมายถึง สีที่เข้ากันได้กับสีหลัก คำว่าเข้ากันได้นี้ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโทนเดียวกันเสมอไป แต่อาจหมายถึง สีตัดกันก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 2 สี อาจใช้กับ ประตู หน้าต่าง ผนังห้องบางส่วน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลัก
  • เลือกระดับความเข้มของสี ในสีเดียวกันนั้น ยังมีสีย่อยๆ ได้อีกหลายสี โดยสามารถปรับระดับความเข้มอ่อนของสี ใช้น้ำหนักที่แตกต่างกัน เพื่อให้ห้องดูกลมกลืน อบอุ่น เช่น หากห้องของคุณมีสีหลักเป็นสีฟ้า อาจมีสีรองเป็นสีเหลือง คุณอาจเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ผ้า ในโทนสีเหลืองเข้มก็ได้
  • เลือกเน้นสี หมายถึง สีของวัตถุ ที่ใช้สำหรับตกแต่ง วัตถุชิ้นเล็กๆ ส่วนใหญ่มักนิยมใช้วัตถุที่มีสีสันต่างจากสีหลักและสีรอง เพื่อความโดดเด่นของวัตถุ ส่งผลให้มีความสดชื่น มีชีวิตชีวา แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ควรเยอะจนเกินไป

สีตัดกัน

การเลือกโทนสีที่ตัดกัน ก็เป็นที่นิยม โดยเป็นสีตามคู่ตรงข้ามนั่นเอง เช่น สีน้ำเงินตัดกับสีส้ม สีเหลืองตัดกับสีม่วง สีแดงตัดกับสีเขียว สีที่ตัดกันจะทำให้ห้องดูสดใส ไม่น่าเบื่อ เช่น หากคุณเลือกสีห้องในโทนสีน้ำเงิน หรือฟา คุณอาจใช้ผ้าม่าน หรือผ้าปูที่นอน สีส้ม ก็จะทำให้ดูตัดกันได้อย่างลงตัว

บทความโดย © : banidea.com

รู้จักโหมดสี

รู้จักโหมดสีในโปรแกรม
            โหมดสีคือ โมเดลหรือรูปแบบการผสมสีด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสีที่ใช้แสดงออกทาง
หน้าจอ หรือเครื่องพิมพ์ สำหรับโหมดสีในโปรแกรมนี้ มีด้วยกัน 5 โหมดดังนี้

1.โหมดสี HSB เป็นโหมดสีที่มีพื้นฐานเช่นเดียวกับการมองเห็นของมนุษย์ตามธรรมชาติที่สุด เนื่องจากใช้หลักการ ้สะท้อนของสีของวัตถุทำให้เกิดภาพที่ตาสามารถมองเห็นได้ สีโหมดนี้เกิดขึ้นมาโดยการจำลองการมองเห็นเป็นหลัก
จึงค่อนข้างมีปัญหาในการนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์ สีโหมด HSB เกิดขึ้นจากองค์ประกอบสามตัวได้แก่
            - Hue (H) คือ สีที่เกิดจากการสะท้อนของวัตถุ ค่า Hue สามารถกำหนดได้จากมุมที่หมุนไปในวงล้อสี
มาตรฐาน มีหน่วยเป็นองศา ตั้งแต่ 0-360
            - Saturation (S) คือ ค่าบริสุทธิ์หรือค่าความอิ่มตัวของเนื้อสี เป็นการกำหนดว่าสีนั้นๆ จะมีความสด
มากน้อยแค่ไหน โดยสีทกุสีจะมีสีเทาเจือปนอยู่ ค่า saturation นั้นมีหน่วยวัดเป็นอัตราส่วนระหว่างสีจริงกับสีเทา
หากค่าsเท่ากับ100% หมายถึงมีสีจริงอยู่ทั้งหมด ไม่มีเทาเจือปน เป็นสีที่อิ่มตัวเต็มที่ แต่เมื่อค่า s เท่ากับ 0  แสดงว่า ไม่มีสีจริงอยู่เลยนอกจากสีเทา
            - Brightness (B) คือ ค่าความสว่างของสี โดยมีหน่วยวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ อีกเช่นกัน เมื่อค่า B เท่ากับ
0% สีจะมืดที่สุดเป็นสีดำ กลับกัน เมื่อค่าเป็น 100% สีก็จะสว่างที่สุดเป็นสีขาว
2.โหมดสี RGB เป็นโหมดสีที่เกิดจากการผสมของแม่สี 3 สี ประกอบด้วย สีแดง ( Red ) สีเขียว( Green )
และสีน้ำเงิน( Blue ) นำไปใช้ในการแสดงผลบนหน้าจอเหมาะกับงานบนอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ และงานมัลติมีเดีย
ทุกชนิดในโหมดนี้จะมีความสดและค่าอิ่มตัวสูง
3.โหมดสี CMYK เป็นโหมดสีที่มีรูปแบบการผสมสีโดยใช้แม่สีทางวัตถุ หรือแม่สีที่เป็นหมึกพิมพ์จริงๆ ซึ่งประกอบ
ด้วยสีฟ้า ( Cyan ) สีชมพู( Magenta ) สีเหลือง( Yellow ) และสีดำ ( Black ) ผสมผสานกันจนเป็นภาพต่างๆ
ตามต้องการ เหมาะสำหรับงานสิ่งพิมพ์
4.โหมดสี Grayscale เป็นโหมดสีที่มีสีเดียวนั่นคือสีดำ การแสดงผลของภาพจะเป็นลักษณะการไล่น้ำหนักสี
จากดำ เทา จนถึงสีขาว แสดงเป็นภาพ เรามักใช้สีแบบนี้กับงานพิมพ์ภาพสีเดียวเป็นการประหยัดต้นทุนการพิมพ์
5.โหมดสี web save RGB เป็นโหมดสีที่ถูกตัดทอนจำนวนสีให้เหลือเพียง 256 สีเท่านั้น เพื่อให้สมารถ
แสดงผลบนเว็บไซต์ได้ดี ดังนั้น สีบางสีจะถูกเปลี่ยนเป็นสีใกล้เคียง

Wednesday, September 26, 2012

ปกป้องบ้านจากรังสียูวี Sun Protection

บ้านของคุณเก่าได้อย่างไร?

หลายคนที่เคยสังเกตและเกิดความสงสัยว่า บ้านของตัวเอง ทำไมถึงแลดูเก่าและโทรมอย่างรวดเร็ว? สาเหตุที่บ้านของคุณแลดูเก่าและโทรมก็มาจากผนังบ้านของคุณมีสีซีดลง เมื่อลองมองเปรียบเทียบกับบ้านใหม่ๆ ก็จะเห็นได้ชัดเจน สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สีทาผนังบ้านซีดลงก็คือ รังสียูวี (UV: Ultraviolet) รังสียูวีที่มาพร้อมกับแสงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทาเคมีของสีทาผนัง ทำให้ผนังกลายไปเป็นสีเหลืองซีดๆ ไม่สดเหมือนกับบ้านที่เพิ่งทาสีเสร็จใหม่ๆ นั่นเอง

โดยปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นสีทาภายนอกหรือ สีทาภายใน เมื่อใช้งานไปสักระยะสีก็จะเริ่มซีดลง และโดยเฉลี่ยเมื่อใช้งานไปประมาณ 5-10 ปี ชั้นของฟิล์มสีก็จะเริ่มเสื่อมสภาพ และไม่สามารถจะปกป้องพื้นผิวอีกต่อไป และเมื่อรังสียูวีสามารถทะลุผ่านชั้นของฟิล์มสีเข้าไปได้ รังสียูวีก็ยังสามารถทำให้พื้นผิววัสดุของบ้านเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น พื้นผิวไม้ พื้นผิวยิปซัม พื้นผิวคอนกรีต ให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเกิดการเสื่อมสภาพของพื้นผิว เปราะและผุพังได้เร็วขึ้น ดังนั้นสีจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องบ้านของเราให้ยืนยาว

จากความรุดหน้าของอุตสาหกรรมสีทาผนัง อาคารทำให้มีการคิดค้นสี อย่างเช่น สี SuperShield Titanium ซึ่งมีการใช้สารแต่งเติมที่มีส่วนประกอบของไททาเนียมทำให้ชั้นของฟิล์มสีที่ ทาลงบนผนังอาคารมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น มีความเรียบกว่าสีทาผนังทั่วไป สามารถสะท้อนแสงยูวีที่มาพร้อมกับแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น ทำให้สีไม่ซีดเหลืองง่ายๆ และชั้นฟิล์มสี SuperShield Titanium มีอายุยาวนานมากกว่า 15 ปี ก็จะทำให้เป็นการยืดอายุของพื้นผิวผนังอาคารออกไปด้วยเช่นกัน

หลายคนมักไม่ตระหนักถึงความสำคัญของสี เจ้าของบ้านหลายคนอาจสังเกตเห็นสีทาผนังบ้านของตัวเองเสื่อมสภาพและลอกร่อน ในบางส่วน แต่ก็ยังคงปล่อยทิ้งไว้เช่นนั้น เพราะคิดว่า รอให้เป็นเยอะๆ ก่อนแล้วจึงค่อยทำการทาสีบ้านใหม่ทั้งหลังในคราวเดียว ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะโดยปกติแล้วผนังปูนฉาบที่ก่อสร้างได้มาตรฐานจะมีอายุประมาณ 15-20 ปีหรือน้อยกว่านั้น หลังจากนั้นก็จะเสื่อมสภาพร่วนเป็นผงไม่เกาะตัว และทำให้การรั่วซึมของน้ำฝนเข้าไปภายในบ้านได้ แน่นอนครับว่าหากไม่มีสีทาผนังคอยทำหน้าที่ป้องกันรังสียูวีแล้ว อายุของปูนฉาบก็จะสั้นลง ทำให้มีโอกาสที่จะต้องสกัดปูนฉาบผนังเก่าออกและฉาบผนังใหม่เร็วยิ่งขึ้น ในมุมกลับกันหากเราเลือกใช้สีที่มีคุณภาพดีขึ้น แม้ว่าราคาจะสูงขึ้นไปอีกสักหน่อย ก็จะสามารถช่วยยืดระยะเวลาเสื่อมของผนังปูนฉาบออกไปได้หลายปี

ฟังผมเล่ามาสักพักหลายคนคงอยากรู้แล้ว ใช่ไหมครับว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสีทาผนังบ้านของเราเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง? วิธีการตรวจสอบว่าถึงเวลาที่ต้องเตรียมตัวทาสีผนังบ้านใหม่ก็สามารถทำได้โดย ใช้ ฝ่ามือลูบไปบนผนังเบาๆ หากพบว่ามีฝุ่นสีติดมือออกมาด้วยก็แสดงว่าถึงเวลาเตรียมตัวเลือกสีใหม่ให้ กับบ้านได้แล้วละครับ

แม้ว่าขั้นตอนวิธีการทาสีจะไม่ใช่ เรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรนัก แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่าการทาสีก็คือความยุ่งยากในการเตรียมพื้นผิวของผนังให้ เรียบร้อยก่อนลงมือทาสี เพื่อให้ได้ผนังที่เรียบเนียน สำหรับผนังปูนใหม่คงไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนเท่าใดนัก แต่สำหรับผนังปูนเก่าซึ่งมีสีเดิมเกาะอยู่ การขัดลอกสีเก่าออกให้หมดเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและใช้เวลานานพอสมควรเลยที เดียว แต่ที่ยากที่สุดคงเป็นเรื่องของการเคลื่อนย้ายสิ่งของเพื่อเตรียมพื้นที่ สำหรับการทำงาน เพราะบ้านที่เราเข้าอยู่พักอาศัยแล้วจะมีสิ่งของเครื่องใช้มากมาย หากไม่มีการเคลื่อนย้ายก็จะทำให้การทาสีทำได้ด้วยความยากลำบาก

จากประสบการณ์เปลี่ยนสีบ้านครั้งที่ ผ่านมา ทำให้รู้ว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนกันให้ดีว่าในขณะที่กำลังเปลี่ยน สีบ้านใหม่จะใช้ชีวิตกันอย่างไร ใช้ชีวิตในบ้านอย่างไร กินอย่างไร นอนอย่างไร เพราะสิ่งของเกือบทุกอย่างจะถูกเคลื่อนย้ายหรือไม่ก็ถูกคลุมด้วยพลาสติก เพื่อไม่ให้เปื้อนสี ดังนั้นคุณภาพของสีเป็นเรื่องที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะคงจะเป็นการดีไม่น้อยเลยนะครับถ้าเราไม่ต้องเปลี่ยนสีบ้านกันบ่อยๆ


ขอบคุณที่มา  :  baanlaesuan.com/เรื่อง: ห้องสมุทร

ฟิล์มสี คืออะไร อยู่ตรงไหนในกระป๋องสี


หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ในการพูดคุยกับ เจ้าของร้านขายสีทาบ้านพูดถึงสีชนิด นั้น ชนิดนี้ มีฟิล์มสีซึ่งคุณสมบัติต่างๆ นานา อย่างเช่น สามารถป้องกันน้ำ มีความยืดหยุ่นสามารถปิดทับรอยแตกร้าวตามผนังได้ หรือแม้กระทั่งสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ แน่นอนครับ ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่มักจะเชื่อเจ้าของร้านและเลือกสีที่มีคุณสมบัติที่ตัวเอง ต้องการกลับไปใช้งาน แต่ก็คงสงสัยในใจกันอยู่ว่า ฟิล์มสี คืออะไร อยู่ตรงไหนในกระป๋องสี แต่ก็เก็บคำถามนั้นไว้ในใจ ผมพูดถูกใช่ไหมครับ เมื่อเป็นเช่นนั้นลองไปดูกันหน่อยไหมครับว่า ฟิล์มสีคืออะไร และอยู่ตรงไหนในกระป๋อง



ฟิล์มสี ก็คือ ชั้นความหนาของเนื้อสี ที่เราทาลงไปบนผนังอาคารนั่นเอง หลายคนอาจจะยังนึกภาพไม่ออกหากไม่เคยทาสีด้วยตัวเอง ถ้าเป็นเช่นนั้นลองค่อยๆ ทำความเข้าใจตามผมไปเรื่อยๆ นะครับ โดยปกติแล้วเนื้อสีในกระป๋องหนึ่งๆ จะประกอบด้วย

• ผงสี (Pigment) หรือที่เรียกกันว่าเม็ดสี ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เราเห็นเนื้อสี เป็นสีต่างๆ
• สารแต่งเติม (Additive) เป็นสารที่ทำให้สีมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปตามแต่ความต้องการใช้งาน ซึ่งสารแต่งเติมนี้เองที่ทำให้สีมีราคาถูกแพงแตกต่างกัน
• ตัวเชื่อมประสาน (Binder) ทำหน้าที่ในการประสานส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ทั้งผงสีและสารแต่งเติม




นอกจากนี้ยังมีอีกสิ่งหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ในกระป๋องสีแต่ต้องนำมาผสมกับสีเพื่อให้สีพร้อมสำหรับการใช้งาน นั่นก็คือ

• ตัวทำละลาย (Solvent) ซึ่งหากเป็นสีน้ำอะคลีลิค ก็จะใช้ตัวทำละลายที่เป็นน้ำ หากเป็นสีน้ำมันก็จะใช้ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย

สาเหตุที่ทำให้เราต้องผสมสีเข้ากับตัวทำละลาย ก็เพื่อทำให้เนื้อสีลดความหนืด ทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนในการผสมตัวทำละลายถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่ง โดยสีแต่ละชนิดอาจใช้ตัวทำละลายที่แตกต่างกันไป ต้องผสมในอัตราส่วนที่ระบุมาตามข้างกระป๋องเท่านั้น เพราะว่าหากเราไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผนังอาคารของเราก็ไม่ได้กับการปกป้องจากฟิล์มสีอย่างเต็มประสิทธิภาพ



เมื่อเราทาสีลงพื้นผิววัสดุ เราจะได้ฟิล์มสีเปียก จากนั้นตัวทำละลายก็จะค่อยๆ ระเหยออกไปเรื่อย ทำให้โมเลกุลของทั้ง ผงสี สารแต่งเติม และตัวเชื่อมประสานจะเริ่มเกาะเข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อตัวทำละลายระเหยออกไปจนหมด ก็จะเกิดเป็นชั้นฟิล์มสีบางๆ เคลือบทับอยู่บนพื้นผิวของวัสดุที่ถูกทานั่นเอง



อย่างที่บอกไว้แล้วในข้างต้นว่าสิ่งที่สำคัญที่ทำให้สีนั้นมีคุณภาพและราคา แตกต่างกันก็คือคุณสมบัติของสารแต่งเติมซึ่งทำให้ฟิล์มสีมีคุณภาพแตกต่างกัน ออกไปตั้งแต่ สารแต่งเติมที่ทำให้เม็ดสีสามารถทนน้ำได้มากขึ้น สารที่ทำให้ฟิล์มสีมีความยืดหยุ่นมากขึ้นจนสามารถปิดทับรอยแตกร้าวเล็กๆ ตามผนังได้ หรือทำให้ฟิล์มสีมีพื้นผิวเรียบมันจนฝุ่นจับไม่ได้หรือที่เราเรียกฟิล์มสี ที่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้นั่งเอง นอกจากนั้นก็ยังมีสารซึ่งทำให้ฟิล์มสีมีคุณสมบัติในการสะท้องแสงอาทิตย์ช่วย ลดความร้อนของผนังอาคาร และล่าสุดถึงขั้นได้มีการใช้สารแต่งเติมที่มีส่วนผสมของสารไททาเนียมทำให้ ฟิล์มสีสามารถสะท้อนรังสี UV และเพิ่มความทนทานที่ยาวนานจนเรานึกไม่ถึงกันเลยทีเดียวครับ

ดังนั้นคราวหน้าก่อนไปซื้อสีอย่าลืมตรวจดูความต้องการใช้งานของเราว่าต้อง การสีที่มีคุณสมบัติแบบไหนก่อนนะครับ จะได้ไปบอกความต้องการของเรากับเจ้าของร้านได้อย่างถูกต้องและเข้าใจ ขอให้มีความสุขกับการทาสีบ้านใหม่นะครับ



ที่มา  :  baanlaesuan.com

สีกึ่งเงา

สีกึ่งเงา (Semi-Gloss Color) ก็คือ สีน้ำอะครีลิคที่ใช้ส่วนผสมของสารแต่งเติม (Additive) และ ตัวเชื่อมประสาน (Binder) ที่มีคุณลักษณะพิเศษ อย่างเช่นสี SuperShield Titanium ซึ่งใช้สารแต่งเติมที่มีส่วนประกอบของไททาเนียม ซึ่งทำให้หลังจากที่สีทาผนังแห้งแล้ว ชั้นของฟิล์มสีมีคุณสมบัติแตกต่างจากสีทั่วไป โดยชั้นของฟิล์มสีจะมีลักษณะมันเงา และมีความเรียบเป็นพิเศษ ทำให้ฝุ่นจับได้ยาก ทนความชื้นและทนน้ำได้ดีกว่าสีปกทั่วไป มีค่าการสะท้อนแสงสูงซึ่งทำให้สามารถปกป้องผนังบ้านจากรังสียูวี และสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้ามาสู่ภายในอาคารได้ง่ายๆ
ด้วยคุณลักษณะมันเงาของชั้นฟิล์มสีที่ แตกต่างไปจากชั้นฟิล์มสีของสีชนิดด้าน (Matte Color) ทำให้ฝุ่นหรือสิ่งสรกปกเกาะผนังได้ยากขึ้น ทำให้ลดการสะสมฝุ่นหรือสิ่งสรกปกบริเวณผนังบ้านลง และพร้อมด้วยคุณสมบัติที่สามารถทนความชื้นและทนน้ำได้ดีกว่า จึงทำให้สีกึ่งเงาสามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ในกรณีที่เกิดคราบสรกปก เปื้อนบนผนัง 

ด้วยจุดเด่นดังกล่าว ทำให้บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ชมภาพยนตร์โฆษณาที่แสดงคุณสมบัติของสีกึ่งเงา ที่สามารถเช็ดล้างได้จำนวนมากมายหลายเที่ยว ด้วยภาพที่ปรากฏอยู่บนโฆษณา อาจทำให้หลายคนอาจเข้าใจผิดไปว่า สีชนิดด้านไม่สามารถเช็ดล้างหรือโดนน้ำได้เลย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สีชนิดด้านก็สามารถทนต่อความชื้นและน้ำได้พอสมควร สามารถทำความสะอาดได้เป็นครั้งคราว ซึ่งอันที่จริงแล้วก็คงไม่มีใครที่จะเช็ดล้างทำความสะอาดผนังทุกวันอยู่แล้ว ด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งจากข้อนี้จึงทำให้คนส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้สีกึ่งเงากับ ผนังภายนอก และเลือกใช้สีด้านกับผนังภายใน 

สำหรับเหตุผลอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่อง ของราคาซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาด สีกึ่งเงาเป็นสีที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าสีชนิด ด้าน จึงทำให้มีราคาสูงกว่าสีด้านอยู่พอสมควร จึงทำให้หลายบ้านเลือกใช้สีชนิดด้านในการทาผนังภายในบ้านเพื่อเป็นการลดต้น ทุน แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งคิดแตกต่างออกไป และเลือกใช้สีกึ่งเงาทั้งภายนอกและภายใน เพื่อให้สามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ตามต้องการ แต่ก็มีหลายกรณีเหมือนกันที่สีกึ่งเงาก่อให้เกิดปัญหากวนใจตามมาจาก คุณลักษณะมันเงาของชั้นฟิล์มสีเหมือนกัน

ด้วยคุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่แตกต่างไป จากสีชนิดด้าน ชั้นฟิล์มสีของสีกึ่งเงาจะมีค่าการสะท้อนแสงสูงกว่าสีชนิดด้าน ด้วยคุณสมบัติในข้อนี้ เมื่อใช้สีกึ่งเงากับผนังภายนอกจะทำให้ผนังสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้มาก ขึ้น ส่งผลให้ลดความร้อนสะสมบริเวณผนังลงได้ เมื่อใช้สีกึ่งเงากับผนังภายใน จะส่งผลให้ผนังห้องสะท้อนแสงแสงอาทิตย์ หรือแสงจากหลอดไฟฟ้าส่องสว่างได้มากกว่าสีชนิดด้าน ส่งผลให้ห้องสว่างมากขึ้น แต่ในบางครั้งการสะท้อนแสงเหล่านั้นก็อาจเป็นการรบกวนสายตาได้เช่นกัน โดยเฉพาะในบริเวณที่ต้องใช้สายตาเยอะๆ อย่างเช่น มุมอ่านหนังสือ หรือ มุมทำงาน ซึ่งแสงสะท้อนจากผนังจะรบกวนสายตาและสามารถทำให้เกิดอาการปวดตาได้เช่นกัน

ดังนั้นเมื่อเราจะเลือกใช้สีกึ่งเงาจึงมีจุดที่ควรรู้ไว้ดังนี้
1. สำหรับผนังปูนฉาบที่ฉาบปูนไม่เรียบ เวลาที่ผนังโดนแดดส่องจะทำให้เห็นความไม่เรียบของผนังอย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับงานฝ้าเพดาน ไม่แนะนำให้ใช้สีกึ่งเงาทาฝ้าเพดาน เนื่องจากจะทำให้ความไม่เรียบของฝ้าเพดานได้ง่ายเมื่อเปิดไฟ
2. ในบริเวณที่ต้องใช้สายตาในการทำงานหรืออ่านหนังสือ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีกึ่งเงา เพราะแสงสะท้อนจากผนังจะรบกวนสายตาขณะอ่านหนังสือได้ครับ
3. สำหรับบ้านหลังใดที่ติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่าง โดยใช้เทคนิคการซ่อนหลอดไฟ การใช้สีกึ่งเงาที่มีความเงามากๆ อาจทำให้มองเห็นตัวหลอดไฟที่ต้องการซ่อน

อย่าลืมนะครับการเลือกใช้สีที่ ดีไม่ใช่การเลือกใช้สีที่แพง แต่การเลือกใช้สีที่ดีคือการเลือกใช้สีให้เหมาะกับความต้องการของเรามากที่ สุดครับ


ขอบคุณที่มา  :  http://www.baanlaesuan.com

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by I love Color