Tuesday, October 9, 2012

เทคโนโลยีเกี่ยวกับสีทาบ้าน

สีทาบ้าน

สีทาบ้าน
ภาพประกอบบทความ "สีทาบ้าน" เทคโนโลยีเกี่ยวกับสีทาบ้าน

“สีทาบ้าน” เทคโนโลยีเกี่ยวกับสีทาบ้าน

สีทาบ้าน ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มีความทันสมัย เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ได้แก่ สีทาบ้านที่ มีส่วนประกอบของ “นาโนไทเทเนียม” ที่มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดตัวเอง หรือสามารถฆ่าเชื้อโรคไปในตัวได้ ลดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งปกติแล้ว สีทาบ้านที่มีอยู่ในร้านขายสีทาบ้าน หรือบริษัทจำหน่ายสีทาบ้านนั้น จะมีส่วนผสมของอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซต์อยู่แล้ว ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้สีทาบ้านมีความขาวสว่างขึ้น ซึ่งสีทาบ้านที่น่าสนใจ ได้แก่ สีทาบ้านทีโอเอ (TOA) สีทาบ้านเบเยอร์ (Bayer) เป็นต้น นอกจากจะใช้ภายในอาคารแล้ว สีทาบ้านยังสามารถใช้กับอาคารภายนอกได้ด้วย เพราะสามารถทนต่อสภาวะอากาศ และมลพิษฝุ่นควันต่างๆ ได้ดี
สีทาบ้าน
ภาพประกอบบทความ "สีทาบ้าน" การเลือกใช้สีทาบ้านให้เหมาะสม

“สีทาบ้าน” การเลือกใช้สีทาบ้านให้เหมาะสม

การเลือกใช้สีทาบ้าน ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับประเภทของสีทาบ้านที่มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่สีทาบ้าน แต่ละแบบจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน รวมทั้งราคาสีทาบ้านที่แตกต่างกันด้วย ลักษณะการใช้งานสีทาบ้านที่ไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องพิจารณาความต้องการสีทาบ้านที่มีคุณภาพและตรงกับการใช้งานมากที่สุด ดังนี้
1. สีทาบ้านภายนอกอาคาร มีคุณสมบัติเด่นที่มีความสวยงาม ทนทาน สามารถทนได้ต่อสภาวะอากาศทุกประเภท
2. สีทาบ้านภายในอาคาร มีคุณสมบัติที่ไม่ทนทานต่อแสงแดด หรือสภาพอากาศ
3. สีทาบ้านรองพื้น มีคุณสมบัติในการยึดเกาะ ให้การจับตัวของสีทาบ้านดี
สีทาบ้าน
ภาพประกอบบทความ "สีทาบ้าน" ชนิดของสีทาบ้าน

“สีทาบ้าน” ชนิดของสีทาบ้าน

สีทาบ้าน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สีทาบ้านพลาสติก หรือสีทาบ้านแบบอะครีลิค และสีทาบ้านแบบเคลือบเงา ซึ่งสีทาบ้านแบบอะครีลิคนี้ มีคุณสมบัติที่ทำให้เจือจางได้โดยการใช้น้ำเป็นตัวผสม เมื่อสีทาบ้านแห้งจะไม่มีการหลุดล่อน เหมาะสำหรับการใช้ทาพื้นปูนและพื้นคอนกรีตทั่วไป ส่วนสีทาบ้านแบบเคลือบเงานั้น สามารถทำให้เจือจางโดยการใช้ทินเนอร์หรือน้ำมันเป็นตัวผสม เหมาะสำหรับนำใช้ในงานโลหะหรืองานไม้ที่ต้องการความเงางาม แต่ไม่สามารถนำไปทาพื้นปูนได้ เพราะสีทาบ้านชนิดนี้ จะไม่ติดพื้นปูน หรือหากนำมาทาจะทำให้หลุดออกได้ง่าย สีทาบ้านทั้งสองชนิดนี้ สามารถนำมาใช้งานได้ทั้งภายนอกและภายในตัวอาคาร โดยคุณภาพและความคงทนของสีนั้นมีอยู่หลายเกรดด้วยกัน ซึ่งอายุการใช้งานของสีทาบ้านนั้นก็ขึ้นอยู่กับเกรดของสี และราคาสีทาบ้านจะลดลงมาเมื่อเกรดของสีลดลงไปตามความต้องการ

เทคนิคการเลือกสีทาบ้าน

เทคนิคการเลือกสีทาบ้าน  

 
เทคนิคการเลือกสีทาบ้าน
เทคนิคการเลือกสีทาบ้าน

ประเภทของสีทาบ้าน

แบ่งตามพื้นผิวของวัสดุที่จะทาสีดังนี้

1. สีน้ำอะครีลิค หรือ สีน้ำพลาสติก เป็นสีที่ใช้ทาผนังปูนหรือ คอนกรีต ผ้าเพดาน ที่ทั้งประเภทที่ใช้ทาภายนอก และทาภายใน โดยสีสำหรับทาภายนอกจะมีราคาสูงกว่าสีทาภายใน แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่า
2. สีน้ำมัน เป็นสีที่ใช้สำหรับทาเหล็ก และไม้
3. สีย้อมไม้ เป็ฯสีที่ใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ ทำให้เนื้อไม้มีสีที่เราต้องการ
4. สีเคลือบไม้ เป็นสีที่ใช้ทาพวกไม้ต่างๆ ให้เห็นลายธรรมชาติของไม้ เช่น พวกเล็คเกรอ์ เชลแล็ก เป็นพวกรักษาเนื้ือไม้
5. สีกันสนิม  เป็นสีที่ใช้ทาเหล็ก จะทารองพื้นเพื่อกันสนิมก่อนทาสีจริง
6. สีรองพื้นผิวปูนใหม่หรือ ผิวปูนใหม่ หรือผิวปูนเก่า เป็นสีที่ใช้สำหรับเตรียมพื้นผิว ลดความเป็นกรด หรือด่างของผิวปูน ทำให้การยึดเกาะเมื่อทำการทาสีจริง หรือสีทับหน้าดียิ่งขึ้น

ส่วนประกอบของสีทาบ้าน

โดยทั่วไปจะประกอบด้วย

1. สารยึดเกาะหรือ อะครีบิคซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสี
2. ผงสีซึ่งจะทำให้เกิดความสวยงาม
3. ตัวทำละลายซึ่งจะเป็นตัวทำละลายทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน
4. สารปรุงแต่งต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพสี เช่น สารกันบูด สารกันเชื้อรา

เกรด หรือคุณภาพของสีทาบ้าน

โดยทั่วไปจะแบ่งเกรด หรือคุณภาพของสีดังต่อไปนี้

เกรด A เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางยุโรป การรับประกันจะอยู่ประมาณ 5-10 ปี มักใช้ทาภายนอก โดยเฉพาะอาคารสูง หรือบ้านที่มีราคาแพง
เกรด B เป็นสีที่มีอะครีลิค 100% ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากทางแถบเอเซีย การรับประกันะอยู่ประมาณ 3 -5 ปี มักใช้ทาภายนอก หรือ ภายใน
เกรด  C เป็นสีที่การผสมสารปรุงแต่ง 30% และมีอะครีลิค  70%  การรับประกันจะอยูที่ประมาณ 1 – 2 ปี มักใช้ทั้งทาภายนอก และภายใน
เกรด  D จะเป็นสีที่มีการผสมสารปรุงแต่งมากกว่า 30%


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Rasa Property Development

เรื่องน่ารู้ การเลือกสีทาบ้าน

สีทาบ้าน

เรื่องน่ารู้ การเลือกสีทาบ้าน

+-+ สีทาบ้าน อาจเรียกได้ว่า เป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกรสนิยมของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี สีแต่ละสี ย่อมให้ความหมาย ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป สีโทนเย็น ให้ความรู้สึกสงบเย็น ผ่อนคลาย ดูแล้วสบายตา มีความเป็นอิสระ เช่น สีขาวอมฟ้า สีม่วง สีเขียว และน้ำเงิน ในส่วนของสีโทนร้อนหรือโทนอุ่นนั้น จะให้ความรู้สึกที่สดใส รู้สึกตื่นตัวกระฉับกระแฉง กระตือรือร้น มีชีวิตชีวา เช่น สีส้ม สีแดง สีขามอมเหลือง

โทนสีและผลของ ความรู้สึก

ความรู้สึก ในการมองสีแต่ละสี ย่อมไม่เหมือนกัน สีดำ ให้ความรู้สึก เข้มแข็ง ดูทันสมัย มักนิยมใช้เป็นสีพื้น เพราะสามารถทำให้สีอื่นๆ ที่ร่วมด้วย ดูโดดเด่นชัดขึ้น แต่ทั้งนี้ สีดำปกติแล้ว ไม่นิยมนำมาใช้เป็นสีทาบ้าน แต่อาจใช้เป็นสีพื้นของเฟอร์นิเจอร์แทน หากเป็นสีทาภายในแล้วหละก็ โทนดำๆ เทาๆ อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกหดหู่ได้
สีน้ำตาล เป็นสีออกแนวธรรมชาติ ซึ่งดูอบอุ่นสวยงาม สามารถนำมาใช้ได้กับทุกห้องครับ หากเป็น สีเขียวก็เช่นเดียวกัน ปกติจะหมายถึงสัญลักษณ์ของธรรมชาติอยู่แล้ว การทาสีบ้าน สีน้ำตาลและเขียว เปรียบเสมือนต้นไม้ใบหญ้า ส่งผลให้ผ่อนคลายสภาพจิตใจก็ดีไปด้วย เหมาะมากๆ กับการทาสีบ้าน ทาสีห้องนอน หรือห้องอื่นๆก็ได้
สีน้ำเงิน หรือจะเป็นโทนสีฟ้า สีนี้ทำให้ดูสดใส ร่าเริง เบิกบาน สบายตา ข้อดีคือทำให้ห้องดูกว้างและมีชีวิตชีวา เหมาะกับ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ หรือห้องทั่วๆไปแล้วแต่ความชอบส่วนตัว

โครงสี ขั้นตอนการกำหนด

โครงสี นั่นหมายถึง สีหลักที่จะใช้ทาบ้าน เช่น ทาสีผนังบ้าน พื้น เพดาน พรม โดยทั่วไปแล้ว มักนิยมใช้เพียงแค่ประมาณ 3-4 สี โดยให้เป็นสีต่างกันแต่โทนเดียวกัน เพื่อความกลมกลืน ทั้งนี้ บ้านที่มีสีกลมกลืนกัน ยังถูกต้องตามหลักตำราฮวงจุ้ยจีนอีกด้วย ทำให้ผู้ร่วมอาศัยรักและกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียว โดยจะมีขั้นตอนการเลือกกำหนดโครงสีดังนี้
  • เลือกสีหลัก หมายถึง สีที่ใช้สำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้อง เช่น สีทาพื้นเพดาน ฝาผนัง โดยต้องกำหนดสีที่โดนใจมาก่อนสักหนึ่งสี แล้วจึงเลือกระดับสีอ่อนเข้ม หากอ่อน ก็จะช่วยหลอกตาให้ห้องดูกว้างขึ้นได้
  • เลือกสีรอง หมายถึง สีที่เข้ากันได้กับสีหลัก คำว่าเข้ากันได้นี้ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโทนเดียวกันเสมอไป แต่อาจหมายถึง สีตัดกันก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 2 สี อาจใช้กับ ประตู หน้าต่าง ผนังห้องบางส่วน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลัก
  • เลือกระดับความเข้มของสี ในสีเดียวกันนั้น ยังมีสีย่อยๆ ได้อีกหลายสี โดยสามารถปรับระดับความเข้มอ่อนของสี ใช้น้ำหนักที่แตกต่างกัน เพื่อให้ห้องดูกลมกลืน อบอุ่น เช่น หากห้องของคุณมีสีหลักเป็นสีฟ้า อาจมีสีรองเป็นสีเหลือง คุณอาจเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ผ้า ในโทนสีเหลืองเข้มก็ได้
  • เลือกเน้นสี หมายถึง สีของวัตถุ ที่ใช้สำหรับตกแต่ง วัตถุชิ้นเล็กๆ ส่วนใหญ่มักนิยมใช้วัตถุที่มีสีสันต่างจากสีหลักและสีรอง เพื่อความโดดเด่นของวัตถุ ส่งผลให้มีความสดชื่น มีชีวิตชีวา แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ควรเยอะจนเกินไป

สีตัดกัน

การเลือกโทนสีที่ตัดกัน ก็เป็นที่นิยม โดยเป็นสีตามคู่ตรงข้ามนั่นเอง เช่น สีน้ำเงินตัดกับสีส้ม สีเหลืองตัดกับสีม่วง สีแดงตัดกับสีเขียว สีที่ตัดกันจะทำให้ห้องดูสดใส ไม่น่าเบื่อ เช่น หากคุณเลือกสีห้องในโทนสีน้ำเงิน หรือฟา คุณอาจใช้ผ้าม่าน หรือผ้าปูที่นอน สีส้ม ก็จะทำให้ดูตัดกันได้อย่างลงตัว

บทความโดย © : banidea.com

รู้จักโหมดสี

รู้จักโหมดสีในโปรแกรม
            โหมดสีคือ โมเดลหรือรูปแบบการผสมสีด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสีที่ใช้แสดงออกทาง
หน้าจอ หรือเครื่องพิมพ์ สำหรับโหมดสีในโปรแกรมนี้ มีด้วยกัน 5 โหมดดังนี้

1.โหมดสี HSB เป็นโหมดสีที่มีพื้นฐานเช่นเดียวกับการมองเห็นของมนุษย์ตามธรรมชาติที่สุด เนื่องจากใช้หลักการ ้สะท้อนของสีของวัตถุทำให้เกิดภาพที่ตาสามารถมองเห็นได้ สีโหมดนี้เกิดขึ้นมาโดยการจำลองการมองเห็นเป็นหลัก
จึงค่อนข้างมีปัญหาในการนำไปใช้ในงานสิ่งพิมพ์ สีโหมด HSB เกิดขึ้นจากองค์ประกอบสามตัวได้แก่
            - Hue (H) คือ สีที่เกิดจากการสะท้อนของวัตถุ ค่า Hue สามารถกำหนดได้จากมุมที่หมุนไปในวงล้อสี
มาตรฐาน มีหน่วยเป็นองศา ตั้งแต่ 0-360
            - Saturation (S) คือ ค่าบริสุทธิ์หรือค่าความอิ่มตัวของเนื้อสี เป็นการกำหนดว่าสีนั้นๆ จะมีความสด
มากน้อยแค่ไหน โดยสีทกุสีจะมีสีเทาเจือปนอยู่ ค่า saturation นั้นมีหน่วยวัดเป็นอัตราส่วนระหว่างสีจริงกับสีเทา
หากค่าsเท่ากับ100% หมายถึงมีสีจริงอยู่ทั้งหมด ไม่มีเทาเจือปน เป็นสีที่อิ่มตัวเต็มที่ แต่เมื่อค่า s เท่ากับ 0  แสดงว่า ไม่มีสีจริงอยู่เลยนอกจากสีเทา
            - Brightness (B) คือ ค่าความสว่างของสี โดยมีหน่วยวัดเป็นเปอร์เซ็นต์ อีกเช่นกัน เมื่อค่า B เท่ากับ
0% สีจะมืดที่สุดเป็นสีดำ กลับกัน เมื่อค่าเป็น 100% สีก็จะสว่างที่สุดเป็นสีขาว
2.โหมดสี RGB เป็นโหมดสีที่เกิดจากการผสมของแม่สี 3 สี ประกอบด้วย สีแดง ( Red ) สีเขียว( Green )
และสีน้ำเงิน( Blue ) นำไปใช้ในการแสดงผลบนหน้าจอเหมาะกับงานบนอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ และงานมัลติมีเดีย
ทุกชนิดในโหมดนี้จะมีความสดและค่าอิ่มตัวสูง
3.โหมดสี CMYK เป็นโหมดสีที่มีรูปแบบการผสมสีโดยใช้แม่สีทางวัตถุ หรือแม่สีที่เป็นหมึกพิมพ์จริงๆ ซึ่งประกอบ
ด้วยสีฟ้า ( Cyan ) สีชมพู( Magenta ) สีเหลือง( Yellow ) และสีดำ ( Black ) ผสมผสานกันจนเป็นภาพต่างๆ
ตามต้องการ เหมาะสำหรับงานสิ่งพิมพ์
4.โหมดสี Grayscale เป็นโหมดสีที่มีสีเดียวนั่นคือสีดำ การแสดงผลของภาพจะเป็นลักษณะการไล่น้ำหนักสี
จากดำ เทา จนถึงสีขาว แสดงเป็นภาพ เรามักใช้สีแบบนี้กับงานพิมพ์ภาพสีเดียวเป็นการประหยัดต้นทุนการพิมพ์
5.โหมดสี web save RGB เป็นโหมดสีที่ถูกตัดทอนจำนวนสีให้เหลือเพียง 256 สีเท่านั้น เพื่อให้สมารถ
แสดงผลบนเว็บไซต์ได้ดี ดังนั้น สีบางสีจะถูกเปลี่ยนเป็นสีใกล้เคียง

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by I love Color